วันจันทร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2550

BLOG คืออะไร

ความหมายของบล็อก
Blog มาจากศัพท์คำว่า WeBlog บางคนอ่านคำ ๆ นี้ว่า We Blog บางคนอ่านว่า Web Log แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ทั้งสองคำบ่งบอกถึงความหมายเดียวกัน ว่านั่นคือบล็อก (Blog)ความหมายของคำว่า Blog ก็คือการบันทึกบทความของตนเอง (Personal Journal) ลงบนเว็บไซต์ โดยเนื้อหาของ blog นั้นจะครอบคลุมได้ทุกเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวส่วนตัว หรือเป็นบทความเฉพาะด้านต่าง ๆ เช่น เรื่องการเมือง เรื่องกล้องถ่ายรูป เรื่องกีฬา เรื่องธุรกิจ เป็นต้น โดยจุดเด่นที่ทำให้บล็อกเป็นที่นิยมก็คือ ผู้เขียนบล็อก จะมีการแสดงความคิดเห็นของตนเอง ใส่ลงไปในบทความนั้น ๆ โดยบล็อกบางแห่ง จะมีอิทธิพลในการโน้มน้าวจิตใจผู้อ่านสูงมาก แต่ในขณะเดียวกัน บางบล็อกก็จะเขียนขึ้นมาเพื่อให้อ่านกันในกลุ่มเฉพาะ เช่นกลุ่มเพื่อน ๆ หรือครอบครัวตนเองมีหลายครั้งที่เกิดความเข้าใจกันผิดว่า Blog เป็นได้แค่ไดอารี่ออนไลน์ แต่ในความเป็นจริงแล้ว ไดอารี่ออนไลน์เปรียบเสมือน เนื้อหาประเภทหนึ่งของบล็อกเท่านั้น เพราะบล็อกมีเนื้อหาที่หลากหลายประเภท ตั้งแต่การบันทึกเรื่องส่วนตัวอย่างเช่นไดอารี่ หรือการบันทึกบทความที่ผู้เขียนบล็อกสนใจในด้านอื่นด้วย ที่เห็นชัดเจนคือ เนื้อหาบล็อกประเภท วิจารณ์การเมือง หรือการรีวิวผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่ตัวเองเคยใช้ หรือซื้อมานั่นเอง อีกทั้งยังสามารถแตกแขนงไปในเนื้อหาในประเภทต่าง ๆ อีกมากมาย ตามแต่ความถนัดของเจ้าของบล็อก ซึ่งมักจะเขียนบทความเรื่องที่ตนเองถนัด หรือสนใจเป็นต้น
จุดเด่นที่สุดของ Blog ก็คือ มันสามารถเป็นเครื่องมือสื่อสารชนิดหนึ่ง ที่สามารถสื่อถึงความเป็นกันเองระหว่างผู้เขียนบล็อก และผู้อ่านบล็อกที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย ที่ชัดเจนของบล็อกนั้น ๆ ผ่านทางระบบ comment ของบล็อกนั่นเองในอดีตแรกเริ่ม คนที่เขียน Blog นั้นยังทำกันในระบบ Manual คือเขียนเว็บเองทีละหน้า แต่ในปัจจุบันนี้ มีเครื่องมือหรือซอฟท์แวร์ให้เราใช้ในการเขียน Blog ได้มากมาย เช่น WordPress, Movable Type เป็นต้นผู้คนหลายล้านคนจากทั่วทุกมุมโลก หันมาเขียน Blog กันอย่างแพร่หลาย ตั้งแต่นักเรียน อาจารย์ นักเขียน ตลอดจนถึงระดับบริษัทยักษ์ใหญ่ในตลาดหุ้น NasDaqเมื่อสองสามปีที่ผ่านมา Blog เริ่มต้นมาจากการเขียนเป็นงานอดิเรกของกลุ่มสื่ออิสระต่าง ๆ หลาย ๆ แห่งกลายเป็นแหล่งข่าวสำคัญ ให้กับหนังสือพิมพ์หรือสำนักข่าวชั้นนำ จวบจนกระทั่งปี 2004 คนเขียน Blog ก็ได้รับการยอมรับจากสื่อและสำนักข่าวต่าง ๆ ถึงความรวดเร็วในการให้ข้อมูลตั้งแต่เรื่องการเมืองไปจนกระทั่งเรื่องราวของการประชุมระดับชาติ
http://witwang.blogspot.com/2007_07_01_archive.html

ประเภทของ Blog

บล็อกที่เราเห็นอยู่ในปัจจุบันนี้ ใช่มีเพียงแค่บล็อกที่เป็นตัวหนังสือและรูปภาพเท่านั้น หรือ มีแค่ออนไลน์ไดอารี่ เราแบ่งบล็อกออกได้ ดังต่อไปนี้
1. แบ่งตามลักษณะของมีเดียที่มีในบล็อกได้แก่1.1. Linklog บล็อกแบบนี้น่าจะเป็นบล็อกรุ่นแรก ๆ เป็นบล็อกที่รวมลิ๊งก์ที่เจ้าของบล็อกสนใจเอาไว้ ถ้าคณยังจำผู้ให้กำเนิดคำว่า “บล็อก” ที่ชื่อ จอห์น บาจเจอร์ได้ นั่นแหล่ะครับ robotwisdom.com ของเขาคือตัวอย่างของ linklog นั่นเอง แม้ว่าจะบล็อกแบบนี้จะเป็นการรวมลิ๊งก์เท่านั้น แต่ก็ไม่เรียงเหมือนว็บไดเร็กทอรี่ เพราะเจ้าของบล็อกจะโพสต์ลิ๊งก์ของเขา 1 – 2 ลิ๊งก์ต่อโพสต์เท่านั้นครับ ใครที่อยากมีบล็อกเป็นของตนเองแต่ยังนึกไม่ออกว่าจะทำบล็อกแบบไหน linklog น่าจะเป็นการเริ่มต้นการทำบล็อกได้เป็นอย่างดี1.2 Photoblog ชื่อก็บอกอยู่แล้วครับว่า Photo บล็อกประเภทนี้เน้นในโพสต์ภาพถ่ายที่เจ้าของบล็อกอยากนำเสนอ และมักจะไม่เน้นที่จะเขียนข้อความมากนัก บางบล็อกเรียกได้ว่าภาพโดยเจ้าของบล็อกล้วน ๆ เลยครับ1.3. Vlog ย่อมาจาก Videoblog เป็นบล็อกที่รวมวิดีโอคลิปไว้ในบล็อก Vlog เป็นบล็อกที่เรียกได้ว่าเป็นบล็อกที่นิยมทำกันมากในอนาคต เพราะการเจริญเติบโตของไฮสปีด อินเตอร์เน็ต หรือ อินเตอร์เน็ตบอร์ดแบนด์ ที่ทำให้การถ่ายทอดเสียง ภาพเคลื่อนไหว movie […]
2. แบ่งตามประเภทเนื้อหา ได้แก่2.1 บล็อกส่วนตัว(Personal Blog) นำแสนอความคิดเห็น กิจวัตรประจำวันของเจ้าของบล็อกเป็นหลัก2.2 บล็อกข่าว(News Blog) บล็อกที่นำเสนอข่าวเป็นหลัก2.3 บล็อกกลุ่ม(Collaborative Blog) เป็นบล็อกที่เขียนกันเป็นกลุ่ม เช่น blognone.com2.4 บล็อกการเมือง(Politic Blog) ว่าด้วยเรื่องการเมืองล้วน ๆ2.5 บล็อกเพื่อสิ่งแวดล้อม(Environment Blog) พูดถึงเรื่องราวของธรรมชาติและการรักษาสิ่งแวดล้อม2.6 มีเดียบล็อก(Media Blog) เป็นบล็อกที่วิเคราะห์สื่อต่างๆ สารคดีและสิ่งที่เกี่ยวกับสื่อ เช่น oknation.net/blog/black ของสุทธิชัย หยุ่น2.7 บล็อกบันเทิง(Entertainment Blog) บล็อกที่นำเสนอเรื่องราวบันเทิงทั้งทางจอแก้ว และจอเงิน เรื่องซุบซุดารา กองถ่าย ฯลฯ2.8 บล็อกเพื่อการศึกษา(Educational Blog) ในโรงเรียน หรือมหาวิทยาลัยในต่างประเทศมักจะใช้บล็อกเป็นสื่อในการสอนหรือ แลกเปลี่ยนความคิดกัน2.9 ติวเตอร์บล็อก(Tutorial Blog) เป็นบล็อกที่นำเสนอวิธีการต่าง
http://witwang.blogspot.com/2007_07_01_archive.html

ส่วนประกอบสำคัญ และการใช้ประโยชน์

blog มีส่วนประกอบที่สำคัญๆ และการใช้ใช้ประโยชน์จากส่วนต่าง ๆ ของ blog ดังนี้
1. ชื่อบล็อก (ฺBlog Title) ส่วนของ Blog Title นี้ก็จะเป็นชื่อบล็อกนั้น
2. แท็กไลน์ (Subtitle หรือ Tag line)ตรงส่วนนี้จะเป็นคำจำกัดความของเว็บ หรือสโลแกนเก๋ ๆ ที่ใช้อธิบายถึงตัวบล็อกโดยรวม โดยตัวแท็กไลน์นี้ จะมีก็ได้ หรือไม่มีก็ได้ เพราะมันไม่สำคัญเท่ากับชื่อบล็อก
3. วันที่และเวลา (Date & Time Stamp)เป็นวันที่ และบางทีอาจมีเวลากำกับอยู่ด้วย ตัววันที่และเวลานี้ จะเป็นตัวบอกว่าบทความในบล็อกนั้นเขียนขึ้นมาเมื่อไหร่ บางครั้งอาจมีวันที่ระบุอยู่ในส่วนของ comment ด้วย ซึ่งจะเป็นการบ่งบอกว่า comment นั้นเขียนเข้ามาเมื่อไหร่เช่นกัน
4. ชื่อบทความ (Entry Title)ชื่อเรื่องของบทความที่เขียนในบล็อก
5. ตัวเนื้อหาบทความ (Entry’s Main Body)อาจเป็นตัวหนังสือ หรืออาจเป็นรูปภาพ วีดีโอ หรือแอนิเมชั่น เป็นต้น โดยส่วนประกอบเหล่านี้จะรวมเป็นส่วนเนื้อหาของบทความ
6. ชื่อผู้เขียน (Blog Author)บางบล็อก อาจมีการระบุชื่อผู้เขียนไว้ในบล็อกด้วย โดยตำแหน่งที่จะใส่ชื่อผู้เขียนนั้น สามารถไว้ที่ตำแหน่งใดก็ได้ เช่นด้านข้างของหน้าบล็อก (sidebar) หรืออยู่ในตัวบทความก็ได้
7. คอมเม้นต์ (Comment tag)เป็นลิงค์ที่ให้ผู้อ่านคลิกไปเพื่อกรอกคอมเม้นต์ให้กับบล็อกนั้น ๆ หรืออ่านคอมเม้นต์ ที่มีคนเขียนคอมเม้นต์เข้ามา
8. ลิงค์ถาวร (Permalink) เราสามารถเรียกทับศัพท์ได้ว่า เพอร์มาลิ้งค์ เจ้าลิงค์ตัวนี้คือลิงค์ที่ไปหา url ของบทความนั้น ๆ โดยตรง มีประโยชน์สำหรับ blogger คนอื่น ๆ ที่อยากจะทำลิงค์หาบทความของเราโดยตรง ก็จะสามารถหา permalink ได้อย่างง่ายดาย โดย url ของ permalink นี้จะไม่เปลี่ยนไปตามวันและเวลาเหมือน link ของหน้าแรกของบล็อกที่บทความจะเปลี่ยนไปเรื่อย ๆ
9. ปฎิทิน (Calendar)บล็อกบางแห่งอาจมีปฎิทินอยู่ด้วย โดยในปฎิทินนั้นสามารถคลิกตามวันที่ เพื่ออ่านบทความของวันที่นั้น ๆ ได้
10. บทความย้อนหลัง (Archives)บทความเก่า หรือบทความย้อนหลัง อาจมีการจัดเตรียมไว้โดยเจ้าของบล็อก โดยบล็อกแต่ละแห่งอาจจัดเรียงบทความย้อนหลัง ไม่เหมือนกัน เช่นจัดเรียงรายเดือน รายสัปดาห์ รายวัน หรือจะ list บทความทั้งหมดออกมาเลยก็ได้
11. ลิงค์ไปยังเว็บอื่น (Links)เป็นจุดเด่นและความสนุกของบล็อกอีกอย่างหนึ่งเลยทีเดียวครับ โดยบล็อกแต่ละแห่ง อาจมีลิงค์ไปยังเว็บอื่นหลากหลายเว็บ บางครั้งเราสามารถเรียก link พวกนี้ว่า blogroll
12. RSS หรือ XMLตัว RSS นี้อาจมีเตรียมไว้ให้เราโดยอัตโนมัติ ขึ้นอยู่กับ Blogware หรือ Blog Host ที่เราเลือกใช้ เช่น WordPress หรือ MovableType นั้นจะมี RSS ลิงค์ไว้ให้เราโดยอัตโนมัติ โดยเจ้า RSS Feed นี้จะช่วยให้ผู้อ่านเข้าถึงบทความของเราได้ง่ายขึ้น โดยการใช้โปรแกรมช่วยอ่าน Feed ได้ด้วย บางครั้งนักเขียน Blog คนอื่น ก็อาจใช้ RSS Feed นี้เพื่อประโยชน์ในการดึงข้อมูลไปแสดงในเว็บ หรือบล็อกของตนได้

http://www.keng.com/category/blog-glossary/

Blog แตกต่างจากเว็บไซต์อย่างไร?

ในเบื้องต้น Blog จะแตกต่างจากเว็บไซต์แบบ Static ตรงที่ Blog จะมีเรื่องให้น่าติดตาม ไม่ว่าจะเป็นบทความใหม่ ๆ ที่มีให้อ่านมากกว่า มีพื้นที่ให้ผู้อ่านได้โต้ตอบได้ จนกระทั่งมีผู้กล่าวไว้ว่า Blog จะมาแทนที่เว็บไซต์นิ่ง ๆ ที่ทำหน้าที่เป็นเหมือนโบรชัวร์ออนไลน์
สำหรับประเด็นที่ทำให้ Blog แตกต่างจากเว็บไซต์ทั่วไป มีดังนี้
1.มีการโต้ตอบกันระหว่างผู้เขียนและผู้อ่านได้ หรือที่เราเรียกว่า Interactive นั่นเอง
2.บทความใน Blog จะเขียนในรูปแบบที่เป็นกันเอง และดูเหมือนการสนทนา มากกว่าในเว็บไซต์
3.ระบบที่ใช้เขียน Blog นั้นง่าย ไม่จำเป็นที่จะต้องเป็นเซียนคอมพิวเตอร์ ก็สามารถเขียน Blog ได้
4.อัพเดทได้บ่อยมาก และยิ่งอัพเดทบ่อย จะยิ่งดีต่อการมาเก็บข้อมูลของ Search Engine นะครับ นั่นจะทำให้ตำแหน่งผลการค้นหาของเราใน Search Engine นั้นสูงตามไปด้วย
5.Blog เป็นรูปแบบหนึ่งของการทำการตลาดแบบไวรัส (Viral Marketing)
http://www.thaiwebmarketing.com/category/my-unfinished-blog-book/

ประโยชน์ของ blog

Blog มีไว้เพื่อตอบสนองตัณหาของเจ้าของ blog ถึงแม้ว่า blog จะมีลักษณะหน้าตาคล้ายกัน แต่ blog แต่ละแห่งจะมีบุคลิกเฉพาะตัว แตกต่างกันไปเหมือนบุคลิก บาง blog แค่เล่าเรื่องชีวิตประจำวัน บาง blog เกาะติดข่าว บาง blog คุยเรื่องการเมืองหรือปรัชญา จงนั้นอาจแบ่งประโยชน์ได้หลายแบบด้วยกัน ซึ่งอาจจะแจกแจงได้ดัง
นี้
1.เปิดตัวเองให้โลกรู้ เรื่องของ blog มักเป็นเรื่องราวของเจ้าของ blog เป็นการเล่าประสบการณ์หรือความคิดของเจ้าของ เป็นการถ่ายทอดความคิดความรู้สึกของเจ้าของ blog เป็นการระบายความเคลียดอีกทางหนึ่ง
2.ทันข่าวทันเหตุการณ์ ประสบการณ์บางคนก็เป็นข่าวเห็นอีกหลายคนได้ ข่าวจาก blog หลายแห่งเป็นข่าววงใน บางคนเล่าเหตุการณ์หรืออุบัติเหตุที่เจอมา หลาย blog พูดถึงแนวโน้มหรือความเปลี่ยนแปลงใหม่ ๆ
3. กลั่นกรองข้อมูล blog บาง blog จะมีการกลั่นกรองข้อมูลก่อนนำลง blog ทำให้ผู้อ่าน blog ไม่ต้องเสียเวลาในการกลั่นกรองข้อมูล เพราะมีการนำเสนอข้อมูลหรือมีไกด์ในการท่องเว็บ
4. รายงานการท่องเว็บ เป็นวัตถุประสงค์หลักที่เป็นต้นกำเนิดของการทำ blog หลาย blog มีการลิงก์ไปยังเว็บที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาใน blog ซึ่งเป็นการแนะนำว่าเว็บไหนดีก็ไปที่เว็บนั้น
5. การแสดงความคิดเห็น ไม่ว่าจะเป็นความในใจของเรื่องต่างๆ ความคิดเชิงสร้างสรรค์ หรือการบ่นที่ทุกคนมีอยู่ในใจ การทำ blog เป็นช่องทางถ่ายทอดความคิดเห็นให้คนอื่นรับรู้
6. ถ่ายทอดประสบการณ์ หรือไดอะรี่ออนไลน์ เป็นการถ่ายทอดเรื่องราวในชีวิตประจำวัน หรือเป็นการเล่าเรื่องการเดินทางท่องเที่ยว เช่น
www.terrystrek.com
7.โน้มน้าวใจผู้อ่าน ลักษณะนี้เป็นการโฆษณาชวนเชื่อ แต่กรณีแบบนี้เป็นการขายความคิด อย่าง blog สำหรับคอการเมืองอาจจะมีฝ่ายซ้าย - ฝ่ายขวา,สายเหยี่ยว ­- สายพิราบ จะพบว่าเนื้อหาจะเป็นการโพสต์โจมตีฝ่ายตรงข้าม แล้วก็สนับสนุนแนวความคิดของตนเอง
http://203.158.122.114/moodle/mod/resource/view.php?id=70

ผลกระทบจาก Blog ที่เกิดขึ้นในระดับปัจเจคบุคคล

ผลกระทบต่างที่เกิดขึ้นมากมายจากโลกไซเบอร์นั้น ก็มีให้เห็นกันบ่อยมากขึ้น เนื่องจากการพัฒนาทางเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว สังคมมนุษย์ก็เกิดโลกส่วนตัวมากขึ้น ขาดการปฏิสัมพันธ์ในทางเผชิญหน้าน้อยลง ทำให้ความจริงใจหรือการจะได้เรียนรู้ลักษณะท่าทางที่แสดงออกมาเวลาพูดคุยว่ามีความจริงใจ หรือบอกกล่าวข้อเท็จจริงที่น่าเชื่อถือมากแค่ไหน เราจึงได้รับรู้ข่าวอาชญากรรมที่เกิดขึ้นจากการติดต่อสื่อสารโดยใช้เทคโนโลยีเป็นช่องทาง เช่นการถูกล่อหลวง ชิงทรัพย์ ข่มขืนกระทำชำเราต่างๆมากมาย เพราะการให้ข้อมูลส่วนตัวมากเกิดไป และการไว้ใจคนแปลกหน้าที่ยังไม่เคยรู้จัก
แต่ด้านดีของเทคโนโลยีไร้สายอย่างอินเตอร์เน็ต ที่ตอนนี้นอกจากโปรแกรมคุยกันผ่านทาง MSN แล้วนั้น เรายังมี Blog ที่ใช้เป็นจุดศูนย์กลางของการเป็นแหล่งข้อมูลเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน เป็นช่องทางการใช้ติดต่อสื่อสารในกลุ่มเพื่อนได้ เป็นช่องทางที่จะเสนอความคิดเห็นหรือความคิดสร้างสรรค์อีกทางหนึ่งด้วยBlog จึงเป็นอีกช่องทางหนึ่งของการสื่อสาร

และการที่เราอาศัย blog มาเป็นสะพานเชื่อมโยง ความรู้สึกนึกคิด มุมมอง ทัศนคติ ประสบการณ์ และความรู้ความสามารถ โดยนำสิ่งเหล่านี้มาแรกเปลี่ยนกัน อะไรจะเกิดขึ้น! หากมองในแง่ดีแล้ว คนก็จะมีโอกาสได้เรียนรู้วัฒนธรรมของคนทั่วโลกได้ รวมทั้งเป็นเวทีขนาดเล็กๆ ที่มีผู้ชมมากมาย ให้คุณได้แสดงผลงาน สิ่งประดิษฐ์ และอื่นๆ อีกมากมายออกสู่สายตาชาวโลก โดยใช้เวลาอันรวดเร็วด้วย หรือพูดให้ชัดขึ้นก็คือ เป็นหน้าโฆษณาที่เปิดเสรีและฟรีสำหรับทุกคน ใครที่มีหัวการค้า มีความสามารถด้านใดก็ตาม คุณมีโอกาสที่จะใช้กรอบสี่เหลี่ยมที่มีพื้นที่อันจำกัดนี้ บอกให้ผู้อื่นได้รู้ว่ามีคุณอยู่ตรงนี้อีกคน ซึ่งมันก็ขึ้นอยู่กับว่าใครมีเทคนิคพอที่จะเปิดตัวเองให้โลกรับรู ้ได้เร็วที่สุด โลกแห่งไซเบอร์สเปซไม่ได้เลวร้ายเสมอไป หากแต่ต้องการให้ทุกคนได้ปรับมุมมองเสียใหม่ การมองเห็นในสิ่งเหล่านี้ก็จะกว้างขึ้น

....กว่าจะมาเป็น Blog

Blog ที่กำลังได้รับความนิยมอย่างงมากในขณะนี้ แท้ที่จริงก็เป็นการพัฒนามาจาก การสื่อความหมายด้วยการเขียน หรือจดบันทึกเรื่องราวที่เราได้ไปเจอะไปเจอมาในแต่ละวัน ลงในสมุด ต่อจากนั้นเมื่อมีอินเทอร์เน็ตเราก็เริ่มพัฒนามาเป็นการเขียนบันทึกลงในไดอารี่ ออนไลน์ ซึ่งมีพี่เก่งของเรา เป็นผู้นำเข้านวตกรรมคนแรกของเมืองไทย จวบจนมาถึงปัจจุบัน จึงกลายมาเป็น blog ที่กำลังจะกล่าวถึง ด้วยศักยภาพที่มีอยู่อย่างไร้ขีดจำกัดของมัน ที่สามารถเขียนบันทึกเรื่อวงราวได้ 108 1009 ไม่มีข้อจำกัดในเรื่องพื้นที่ ระยะเวลา อีกต่อไป Blog จึงสามารถครองใจคนออนไลน์ได้อย่างไม่ยากทั้งนี้ถ้าจะอธิบายในแบบวิชาการคงต้องอ้างอิงทฤษฎีที่มารองรับเรื่องดังกล่าว เพื่อให้เกิดความน่าเชื่อถือ จึงสามารถโยงเข้ากับแนวคิด ทฤษฎีได้อย่างอย่างหลาย อาทิ แนวคิดด้านวัฒนธรรม ทฤษฎีทางสื่อสารมวลชน และBlog สมารถเชื่อมโยงได้ว่าเป็นวัฒนธรรมย่อยคือ ถ้าเราจะให้คำจำกัดความของ คำว่า วัฒนธรรม โดยแบ่งตามอาชีพ จะเห็นได้ว่า การที่ Blog เข้ามาในเมืองไทย นั้นยังคง เป็นสิ่งใหม่สำหรับคนไทย น้อยคนนักจะรู้จัก และรู้ถึงศักยภาพที่มีอยู่อย่างไร้ขีดจำกัดของมัน ถ้าไม่ใช่ในกลุ่มของคนออนไลน์ด้วยกัน เพราะฉะนั้น เปรียบเหมือน เป็นวัฒนธรรมย่อย ของชุมชนคนออนไลน์ ที่ชอบอะไรเหมือน ๆ กัน มีการติดต่อสื่อสารในเฉพาะกลุ่มเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวคราว ความเคลื่อนไหวในแวดวง อย่างสม่ำเสมอ นั่นเอง ทั้งนี้เพื่อให้เห็นความชัดเจนมากขึ้น จึงสามารถอธิบายได้ด้วยทฤษฎี แนวคิดเกี่ยวกับวัฒนธรรม ที่กล่าวไว้ว่า(ในสังคมหนึ่งๆ สมาชิกทุกคนย่อมมีความคิดของตนเองเป็นเอกเทศ แต่ถ้ารวมกลุ่มความคิดของบุคคล ที่อยู่ในสิ่งแวดล้อมแบบเดียวกัน ย่อมมีความคล้ายๆ กัน)

ตัวอย่างเว็บไซต์ที่ให้บริการ blog

1. www.bloggang.com เว็บแรกที่นำมาแนะนำให้รู้จักกันก็คือ BlogGang.com ซึ่งเป็น Weblog ที่เป็นภาษาไทย และก็เป็นของคนไทยทำด้วยเช่นกัน เว็บนี้เขามีสโลแกนที่อ่านดูแล้วโดนใจไม่ใช่น้อย \"Weblog for you and your gang\"

2.
www.blogger.com สำหรับ Weblog ถัดมาที่เรานำมาแนะนำให้รู้จักกันคือ blogger.com ซึ่งเป็นอีกหนึ่งเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยมและโด่งดังในต่างประ เทศมาก และก็เป็น Weblog อันดับต้นๆ ที่เปิดให้บริการด้วย หน้าแรกของเว็บออกแบบมาง่ายๆ แต่ก็ได้ใจคนใช้บริการไปเยอะทีเดียว
3. weblog.manager.co.th ใครที่ชอบอ่านข่าวการบ้าน การเมือง หรือบันเทิงจากเว็บไซต์ผู้จัดการเป็นประจำอยู่ละก็ ตอนนี้แนะนำให้คุณลงทะเบียนสมัครเป็นสมาชิกของเว็บนี้เพราะคุณจะได้สิทธิ์ในการมี blog เป็นของตนเอง รวมถึงการเข้าไปอ่าน blog ดีๆ จากเพื่อนสมาชิกด้วย เทาที่ดูคร่าวๆ นั้น แฟนๆ ของเว็บผู้จัดการมีจำนวนมากทีเดียว สังเกตได้จากจำนวนสมาชิกและผู้ที่เข้ามาอ่านข้อความใน blog ต่างๆ ที่ปรากฏบนหน้าจอ